Bangkok Recorder - September, 1844
ตำรา ลม อากาษ. The Atmosphere.
บท หนึ่ง.
อัน ว่า อากาษ นั้น ลอ้ม รอบ แผ่น ดิน ทุก ทิศ, เปรียบ เหมือน น้ำ อยู่ บน แผ่น ดิน ทุก ทิศ, แต่ ลม นั้น เบา กว่า น้ำ หลาย เท่า. แล สิ่ง ของ ทั้ง หมด อยู่ บน แผ่น ดิน, เปน หนัก มาก นอ้ย ตาม กำลัง แผ่น ดิน จะ ชัก เข้า ไป. ทอง คำ หนัก กวา เหลก, เหลก หนัก กว่า ไม้, ไม้ หนัก กว่า กระดาด, เพราะ เหตุ แผ่น ดิน ได้ ชัก ตาม ของ หนัก แล เบา. ถ้า แผ่น ดิน มิ ได้ ชัก ของ ทั้ง ปวง นั้น, ๆ ก็ จะ มี น้ำ หนัก นอ้ย จะ เบา เท่า กัน ทุก สี่ง. ฝ่าย ว่า อากาษ นั้น แผ่น ดิน ได้ ชัก แรง เท่า ไร, นักปราช ได้ คิด กำหนฏ ไว้ แล้ว. แล อากาษ นั้น อยู่ บน แผ่น ดิน ก็ ดี, อยู่ บน ซะเล ก็ ดี, นิ้ว แล นิ้ว ทั่ว ไป หนัก ได้ สิบ ชั่ง, เปรียบ เหมือน น้ำ อยู่ บน แผ่น ดิน ฦก ได้ ห้า วา กับ เจด นิ้ว, อากาษ นั้น ก็ หนัก เท่า กับ น้ำ นั้น ทุก ทิศ. ถ้า ผู้ใด มี วิมุติ สงไสย, จะ ใค่ร ลอง ดู ว่า, จะ จริง เหมือน ว่า แล้ว นั้น หฤๅ ไม่, ถ้า จะ ลอง จง ทำ ท่อ สี่ เหลี่ยม, ข้าง ใน นั้น กว้าง เหลี่ยม ละ นิ้ว, สูง หก วา ให้ ตัน ไว้ ข้าง หนึ่ง. แล้ว ใส่ น้ำ ให้ เตม จึ่ง กลับ ท่อ นั้น, เอา ก้น ขึ้น เอา ปาก ข้าง เปิด ไว้ นั้น, ลง จุ่ม ไว้ ใน ขัน น้ำ ก็ ได้ ใน ชาม น้ำ ก็ ได้, น้ำ ใน ท่อ นั้น ก็ จะ ทรุด ลง มา คง ยู่ แต่ ห้า วา กับ เจด นี้ว เท่า นั้น, ไม่ ได้ ทรุด ลง มา อีก เลย, เพราะ เหตุ ลม อากาษ นั้น ดัน น้ำ ใน ขัน แล ใน ชาม นั้น ไว้ ทุก. นี้ว เท่า กัน กับ น้ำ ใน ท่อ นั้น. แล้ว จง เท ที่ อยู่ ใน ท่อ นั้น ขึ้น ชั่ง ดู, ก็ จะ เหน ว่า หนัก สิบ ชั่ง เหมือน ที่ ว่า แล้ว.
อีก ประการ หนึ่ง, อากาษ อยู่ บน แผ่น ดิน ก็ ดี, อยู่ บน ชะเล ก็ ดี, แล นี้ว แล นี้ว ทั่ว ไป, หนัก เท่า กับ ปรอด สูง สาม สิบ เจด นี้ว ทุก ที. ถ้า จะ รู้ เปน สำคัญ แน่, จง เอา ท่อ สี่ เหลี่ยม ข้าง ใน เหลี่ยม ละ นี้ว, ยาว สาม สิบ แปด นี้ว, ให้ ก้น หัน ข้าง หนึ่ง, จึ่ง เอา ปรอด ใส่ ให้ เตม แล้ว, จึ่ง กลับ ท่อ นั้น เอา ก้น ขึ้น เอา ปาก ลง ใน ขัน ใน ชาม เปล่า ก็ ได้, ปรอด นั้น ก็ จะ ทรุด ลง มา คง อยู่ แต่ สาม สิบ เจด นิ้ว เท่า นั้น, ไม่ ได้ ทรุด ลง มา อีก เลย, เพราะ เหตุ ลม อากาษ นั้น ดัน ปรอด ที่ ปาก ท่อ นั้น ไว้ ทุก นี้ว ทุก นึ้ว, เท่า กัน กับ ปรอด ใน ท่อ นั้น, ไม่ ให้ ปรอด ใน ท่อ นั้น ไหล ออก ได้. แล้ว จง เท ปรอด ใน ท่อ นั้น ออก ชั่ง ดู, ก็ จะ เหน ว่า หนัก สิบ ชั่ง เท่า กัน, เปน สำคัญ ว่า, อากาษ หนัก เท่า กับ ปรอด ใน ท่อ สาม สิบ เจด นี้ว, แล หนัก เท่า กับ น้ำ ใน ท่อ ห้า วา กับ เจด นี้ว เหมือน กัน.
อีก ประการ หนึ่ง, ถ้า จะ เอา ท่อ ทำ ดว้ย เหลก ก็ ดี, แล ทอง แดง ก็ ดี, สี่ เหลี่ยม ข้าง ใน เหลี่ยม ละ นิ้ว, ยาว สั้น ตาม ชอบ ใจ, ให้ ตัน ข้าง หนึ่ง แล้ว, จึ่ง เอา ปาก ข้าง เปิด นั้น คว่ำ ลง กับ กอ้น ตะกั่ว แล กอ้น ทอง แดง, หนัก สิบ ชั่ง ให้ อัด ลม ไว้, แล ทำ รู ข้าง ก้น เปิด หนีด หนึ่ง, ภอ จะ ชัก สูบ ลม ให้ ออก หมด แล้ว, ก็ ปิด รู นั้น เสีย, ท่อ นั้น ก็ จะ ยก กอ้น ตะกั่ว แล ของ ทั้ง ปวง หนัก ได้ สิบ ชั่ง, เปน เพราะ เหตุ ว่า ไม่ มี ลม ข้าง ใน, แล ลม อากาศ ข้าง นอก นั้น มัน จึ่ง ดัน ไว้ ให้ ติด หนัก สิบ ชั่ง ได้, เปน สำคัญ ว่า, ลม อากาษ อยู่ ทุก นิ้ว ๆ ยก หนัก ได้ สิบ ชั่ง สิ้น ตำรา แต่ เท่า นี้. แล เดือน ภาย หน้า จะ ว่า ดว้ย เครื่อง สูบ น้ำ, แล เครื่อง ต่าง ๆ ตาม วิชา ที่ เรา ว่า มา แล้ว.
นก ถือ หนังสือ Carrier Pigeons
แต่ กอ่น เมือง ตูระเกีย เมือง เประเซีย ใช้ นก พิราบ ถือ หนังสือ บอก ข่าว ต่าง ๆ, เปน ทำเนียม. แล นก พิราบ นั้น ไม่ เหมือน นก พิราบ ใน เมือง นี้, แต่ ว่า คล้าย กัน. ถ้า เขา จะ เอา นก พิราบ นั้น ไป จาก ที่ มัน เกิด, แล เอา ไป ปล่อย ใน อื่น ๆ, มัน ก็ จะ กลับ มา สู่ ที่ ที่ มัน เกิด นั้น ได้ โดย เรว, ดว้ย ใจ มัน ผูก อยู่ ใน ที่ นั้น. อีก ประการ หนึ่ง, เขา หัด มัน ใว้, เมึ่อ มัน เปน เลก ๆ แล มี ปีก บิน ได้, แล เขา ก็ เอา ตัว นก นั้น, ไป สู่ หน ทาง ไกล ได้ รอ้ย เส้น สอง รอ้ย เส้น, แล้ว ก็ ปล่อย นก นั้น นก นั้น ก็ บิน มา สู่ ที่ ของ ตน ได้. แล้ว เขา ก็ เอา นก นั้น ไป ปล่อย ให้ ไกล ไป ทุก ที ๆ, นก นั้น ก็ กลับ มา สู่ ที่ ของ ตน ได้ ทุก ที ๆ. เขา ฝึก หัด มัน ให้ มัน เคย อย่าง นี้. เมื่อ มัน เคย แล้ว, ถึง จะ เอา มัน ไป ทาง ไกล หลาย วัน แล้ว จะ ปล่อย มัน, มัน ก็ จะ กลับ มา สู่ ที่ ของ มัน ได้. แต่ กอ่น นั้น มี พ่อ ค้า อังกฤษ พวก หนึ่ง อยู่ ใน เมือง อเลโป เปน ประเทษ ตูระเกีย, เขา เคย ไช้ นก พิราบ ให้ บอก ข่าว กำปั่น ว่า กำปั่น นั้น เข้า มา ถึง เมือง ซะกันดะรูน เมื่อไร. แล เมือง ซะกัน ดะรูน นั้น อยู่ ริม ชะเล, เมือง อเลโป นั้น อยู่ ที่ ดอน, เมือง สอง เมือง นี้ หน ทาง ไกล กัน ศัก สอง สาม วัน. แล พ่อ ค้า ใน เมือง อเลโป นั้น ก็ สังเกด ว่า, อีก ศัก สอง วัน สาม วัน, จะ มี กำปั่น เข้า มา ถึง เมือง ซะ กันดะรูน แล้ว, เขา ก็ ฝาก นก พิราบ นั้น ไป ถึง พ่อ ค้า ซึ่ง อยู่ ใน เมือง ซะกันดะรูน. ถ้า กำปั่น เข้า มา ถึง เมือง ซะกันดะรูน เมื่อ ใด, พ่อ ค้า ใน เมือง นั้น ก็ เฃียน หนังสือ ผูก ใน นก พิราบ, แล้ว ก็ ปล่อย นก พิราบ ให้ มัน ไป หา พ่อ ค้า ที่ อยู่ ใน เมือง อเลโป นั้น. เมื่อ นก พิราบ มัน มา นั้น เรว นัก, หน ทาง ไกล กัน สอง วัน สาม วัน, มัน มา นั้น สอง โมง สาม โมง ก็ ถึง. ถ้า เขา จะ ไช้ การ เรว, เขา ก็ เอา แม่ นก ที่ มี ลูก ออ่น ยัง บิน ไม่ ได้ ฝาก ไป, ถ้า มิ ฉนั้น ก็ เอา แม่ นก ที่ ยัง ฟัก ไข่ อยู่ ฝาก ไป. แม่ นก เหล่า นี้ แล มัน จะ กลับ มา เรว กว่า นก อื่น ๆ, ดว้ย มัน คิด ถึง ลูก นัก. อนึ่ง เขา ก็ ฝาก นก อื่น ให้ สืบ ข่าว. แล มี เรื่อง ใน บูราณ นั้น, ว่า มี กระษัตร ใน เมือง อายฆุบโต องค์ หนึ่ง, มี นก กา ตัว หนึ่ง เปน ที่ สำหรับ ไช้, ๆ ได้ ง่าย, ไช้ เปน ผล เปน ประโยชน์ มาก นัก. กระษัตร นั้น รักษ นก กา ตัว นั้น มาก, ครั้น นก กา ตัว นั้น ตาย กระษัตร นั้น ก็ เอา นก กา นั้น ไป ฝัง ไว้ ใน อุโมง, เหมือน กับ ฝัง ลูก ของ ตน นั้น. แล เรา คิด ใน ใจ ของ เรา ว่า, เหน จะ ไช้ นก พิราบ ใน เมือง นี้ ให้ ไป เอา ข่าว ใน เมือง ปาก น้ำ ก็ จะ ได้ ดอก กระมัง.
ผ้า ฟ่าย เมือง โลเวล. Lowell Cottons.
ใน ประเทษ อเมริกา มี เมือง หนึ่ง ชื่อ ว่า โลเวล, เขา ทำ ผ้า ฟ่าย ฃาย มาก. ผ้า ฃาว พับ ที่ เขา ฃาย ที่ แพ ใน เมือง นี้, ลาง ที ก็ เปน ผ้า ที่ มา แต่ เมือง โลเวล, ดว้ย เหตุ ว่า เรา ได้ เหน หนังสือ ที่ เขา เฃียน ติด อยู่ กับ พับ ผ้า ฃาว นั้น. แล ใน เมือง โลเวล นั้น วัน หนึ่ง เขา ธอ ผ้า ฃาว ยาว ได้ ประมาณ ศัก สอง แสน ห้า หมื่น ศอก. คน ที่ ทำ ผ้า ทั้ง ปั่น ทั้ง ธอ นั้น ประมาณ ได้ ศัก เก้า พัน คน. วัน หนึ่ง เขา ไช้ ฟ่าย ทำ ผ้า นั้น สิ้น ฟ่าย วัน ละ ห้า รอ้ย สี่ สิบ สี่ หาบ, ปี หนึ่ง คิด เปน ฟ่าย สิ้น ๑๖๙๖๘๔ หาบ. จะ ภอ บันทุก กำปั่น ได้ ศัก ห้า สิบ ลำ, ลำ หนึ่ง คิด บันทุก ประมาณ ได้ ๕๙๐๐ หาบ.
นก ใหญ่. A large bird.
จะ ว่า ดว้ย นก ใหญ่ ใน เกาะ เซลันดา, ๆ นั้น ขึ้น แก่ เมือง อังกฤษ. เมื่อ ลว่ง ไป ได้ สอง สาม ปี ตั้ง แต่ ปี นี้ ไป เจ้า เมือง เซลันดา นั้น ได้ ยิน ว่า ที่ ปาก น้ำ แห่ง หนึ่ง, มี กะดูก นก ใหญ่ ตาย จม อยู่ ที่ แผ่นดิน เปน อัน มาก. เจ้า เมือง จึ่ง สั่ง ชาว เกาะ เซลันดา ว่า จะ ซื้อ ซึ่ง กระดูก นก นั้น, ให้ พวก เกาะ เซลันดา ขุด มา ขาย. พวก เกาะ เซลันดา ก็ ขุด ซึ่ง กระดูก นก นั้น, ลาง ที่ ก็ พบ แต่ กระดูก ฃา บ้าง, ลาง ที ก็ พบ แต่ กระดูก อื่น ๆ บ้าง, ลาง ที ก็ พบ กระดูก บริบูรรณ์ อยู่ ทั้ง ตัว. ได้ แล้ว ก็ เอา ไป ฃาย แก่ เจ้า เมือง, ๆ ก็ เอา กระดูก นก นั้น ต่อ กัน เข้า ตาม ที่ ของ มัน, แล้ว ก็ วัด กระดูก นั้น, โดย สูง นั้น วัด ได้ เก้า ศอก, เปน แต่ กระดูก นก ตาย. แล อยู่ มา มี ลูก เรือ อังกฤษ คน หนึ่ง ว่า ได้ เหน ซึ่ง นก เปน สูง เท่า นก ตาย นั้น. มัน เที่ยว กิน อยู่ ที่ ริม ชะเล ใน เกาะ เซลันดา นั้น, ครั้น ลูก เรือ เข้า ไป ใก้ล นก นั้น, มัน ก็ เดิน หนี ขึ้น ภูเฃา เสีย โดย เรว.
ราคา กำปั่น ไฟ อีก ที. Price of Steamboats again.
จะ ว่า ดว้ย ราคา กำปั่น ไฟ อีก ที่ หนึ่ง. ใน หนังสือ จดหมาย เหตุ ใบ ที่ สอง, เรา ได้ บอก ราคา ไว้ ว่า เปน เงิน ห้า หมื่น สอง พัน แปด รอ้ย เจด สิบ ห้า บาท. ครั้น เรา ตรึก ตรอง ดู ใหม่ ก็ เหน ว่า ราคา ผิด พลั้ง ไป บ้าง, ดว้ย หนังสือ แบบ ที่ มา แต่ เมือง กาละกัตตา นั้น เปน ความ มัว อยู่ ไม่ ชัด. ครั้น ตรึก ตรอง ดู ใหม่ ก็ เหน ว่า, พวก พ่อ ค้า ที่ สืบ กำปั่น นั้น เขา สืบ กำปั่น สอง ลำ เปิน คู่. สอง ลำ นั้น เท่า กัน แต่ ลำ หนึ่ง มี เครื่อง ไฟ แล มี หอ้ง สำหรับ คน จะ เดิน สาร ไป, แต่ ลำ หนึ่ง ไม่ มี เครื่อง ไฟ ไม่ มี หอ้ง ที่ คน จะ เดิน สาร, เปน แต่ กำปั่น บันทุก ของ, ไม่ มี ใบ, กำปั่น ไฟ ตอ้ง ลาก. เหตุ ฉนั้น ราคา กำปั่น ทั้ง สอง นั้น จะ ไม่ เสมอ กัน, ลำ ที่ มี เครื่อง ไฟ จะ มี ราคา มาก กว่า ลำ ที่ ไม่ มี เครื่อง ไฟ. เรา คิด ราคา ใหม่, ว่า ราคา กำปั่น ไฟ นั้น จะ มี ราคา ศัก ๗๕๓๓๕ บาท.
Number of Sheep in England and the United States.
ใน เมือง อังกฤษ แล เมือง อเมริกา แล เมือง อื่น ๆ อีกหลาย เมือง, เฃา ไช้ ผ้า คักลาต มาก, ดว้ย ว่า เมือง เหล่า นั้น เปน เมือง หนาว. ผ้า คักลาต นั้น เขา ทำ ด้วย ขน แกะ. ขน แกะ นั้น ปี หนึ่ง เขา ตัด หน หนึ่ง, ตัด เมื่อ สิ้น ระดู หนาว แล้ว. แกะ ตัว หนึ่ง นั้น เขา ตัด ได้ ขน หนัก ได้ สอง ชั่ง จีน บ้าง สาม ชั่ง จีน บ้าง. แล แมือง อังกฤษ นั้น มี ตัว แกะ อยู่ ประมาณ คัก สาม สิบ สอง ล้าน ตัว, แล เมือง อเมริกา นั้น มี ตัว แกะ อยู่ ประมาณ ศัก ๒๐ ล้าน ตัว. แล แกะ ๒๐ ล้าน นั้น, ถ้า จะ คิด ตัว แกะ ยาว สอง ศอก ทุก ตัว ๆ, แล เอา แกะ นั้น มา เรียง ตาม ยาว ให้ ชิด กัน ติด กัน เข้า ทั้ง หมด, แกะ ๒๐ ล้าน ตัว นั้น ก็ จะ ไป ไกล ตั้ง แต่ เมือง นี้ ไป ก็ จะ ไป ถึง เมือง กาลาป๋า.
ม้า เมือง อำรับ. Arabian horses.
จะ ว่า ดว้ย ม้า ใน เมือง อารับ. ม้า ใน เมือง นั้น งาม ดี นัก, พวก อารับ นั้น เคย เอา ไป ฃาย ใน เมือง บัมเบ นั้น มาก ทุก ปี. ลาง ปี ก็ ฃาย มาก ประมาณ สาม พัน ตัว. เจ้า เมือง บัมเบ นั้น เคย ซื้อ ปี ละ พัน ตัว สำหรับ จะ ให้ พวก ทหาร ขี่, แต่ ปี กลาย นี้ เจ้า เมือง บัมเบ นั้น ก็ ชื้อ แต่ รอ้ย ห้า สิบ ตัว. ถ้า จะ นับ ปี ที่ ลว่ง กอ่น ปี กลาย นี้ ไป ห้า ปี นั้น, ราคา ที่ ซื้อ ม้า ใน เมือง บัมเบ นั้น, ก็ คิด ได้ ปน ราคา ซื้อ ปี ละ รอ้ย หาบ ๆ.
Vaccination Successful in Siam.
ที่ นี้ จะ สำแดง ให้ ผู้ อ่าน ผู้ ฟัง ทั้ง ปวง แจ้ง ว่า, โรค ธอระพิศม์ ใน เมือง ไท นี้ ทำ ประการ ใด, จึ่ง จะ ตัด เสีย ให้ ฃาด ได้, อย่า ให้ บังเกิด ต่อ ไป เลย.
ถ้า มี เสือ ทวี ขึ้น นัก, กำเริบ ก้ลา หาร ไม่ กลัว ผู้ ใด, เข้า มา อยู่ ทั่ว ทั้ง แผ่น ดิน, มา ลอ้ม รอบ อยู่ ทุก บ้าน ทุก ตำบล, กัด มนุษ นั้น ทุก คน, คือ บิดา มารดา แล ลูก หลาน ญาติ พี่ นอ้ง นั้น, ตาย มาก หนัก หนา ปี ละ หลายๆ พัน มี, คน จะ ปราถนา ฆ่า เสือ เหล่า นั้น เสีย มาก ศัก เทา ใด. ถ้า มี ผู้ ใด ผู้ หนึ่ง ประกอบ ไป ดว้ย วิที, อาจ จับ เสือร้าย ทั้ง หลาย นั้น, ฆ่า เสีย ได้, ไม่ ตอ้ง เสีย ศัก หนิด หนึ่ง, ไม่ เจบ ไม่ ปวด ไม่ ตาย, ถ้า จับ ได้ ดั่ง นั้น จริง, คน ทั้ง ปวง จะ มา ออ้น วอน ผู้ นั้น ให้ ช่วย จับ ประหาร เสีย มาก ศัก เท่า ใด. เสือ นั้น มี อุป มา ฉัน ใด, มี อุป ไม เหมือน ฝีดาษ ที่ ร้าย กาจ กระทำ ให้ คน ตาย เสีย มาก กว่า มาก นั้น. คน ที่ เปน ฝีดาษ, ให้ เจบ ปวด ตาย หน้า กลัว นัก ใน เมือง ไท นี้, จะ มี ใคร อาจ นับ ได้, ว่า ปี ละ เท่า ไร. ที่ ไม่ ตาย ดว้ย ฝีดาษ นั้น ก็ มี, แต่ ให้ เปน โรค ต่างๆ ดว้ย พิศม์ ฝีดาษ นั้น บ้าง, ที่ ให้ แฃน เสีย ฃา ลีบ, ตา บอด, เปน ฝี ใน อก ใน ท้อง นั้น, ก็ มาก นัก ใคร อาจ นับ ได้. ฝีดาษ นั้น บังเกิด ขึ้น ทุก บ้าน ทุก เรือน ทั้ง ลาว ทั้ง มอน ทั้ง จีน ทั้ง ยวน ทั้ง ทวาย, มี พวก ไท เปน ต้น, รอด บ้าง ตาย บ้าง. แท้ จริง คน ชาว เมือง นี้ เปน อัน ตราย ดว้ย โรค ฝีดาษ นั้น มาก กว่า มาก นัก ไม่ มี ใคร อาจ พรรณนา ได้.
จึ่ง มี คำ บุฉา ว่า, ไม่ มีวิ ที สิ่ง ใด ที่ จะ กัน อัน ตราย ดว้ย โรค อย่าง นี้ บ้าง แล้ว หฤๅ. วีสัชนา ว่า วิที มี อยู่, ที่ มี ฤทธิ มี เดช มาก นัก, ที่ ไม่ ตอ้ง เสีย ทรัพย์, แล ไม่ เจบ ไม่ ปวด ไม่ เปน อัน ตราย. ทั้ง ชาย ทั้ง หญิง แล เดก เลก ทั้ง ปวง, ก็ ขอ ได้ โดย ง่าย, เอา แต่ ครั้ง เดียว. ของ สิ่ง นั้น ใช้ ได้ จน ตลอด อายุศม์. วิที อัน นี้ พวก อังกฤษ, แล พวก อเมริกา เปน หลาย โกติ คน, ก็ ได้ ทด ลอง วิที นี้ ดู มา กว่า ๔๖ ปี แล้ว. ทำเนียม ประเทษ อังกฦษ แล ทั่ว ประเทษ ยุรบ แล อเมริ กา ใช้ แต่ วิที นี้. เหตุ ดั่ง นี้ โรค ธระพิศม์ ใน ประเทษ เหล่า นั้น, จึ่ง ไม่ ใค่ร จะ มี เชื้อ, เหลือ อยู่ บ้าง เลก นอ้ย. แต่ คน ที่ ไม่ เอา วิที นี้ ใช้, จึ่ง เปน โรค ธระพิศม์นั้น บ้าง.
บัด นี้ ข้าพเจ้า จะ กล่าว โดย พิษดาร ตรง ๆ ว่า ดว้ย วิที ที่ จะ กัน ฝี ดาษ นั้น เปน ยัง ไร. อัน วิที นั้น, คือ บุพโพฝี พัน อย่าง หนึ่ง, แต่ เดิม เกิด ขึ้น ที่ นม แม่ โค, จึ่ง เอา บุพโพฝี ที่ นม โค นั้น, มา ปลูก ที่ คน ที่ ยัง ไม่ เปน ฝีดาษ. เมื่อ จะ ปลูก นั้น เอา มีด สกิด เข้า หนิด หนึ่ง, เอา บุพ โพ โค ใส่ ที่ ใต้ ผิว หนัง ตาม รอย มีด นั้น. เมื่อ ขณะ ปลูก นั้น ก็ เจบ เท่า ยุง กัด เท่า นั้น. ได้ สอง วัน สาม วัน ก็ แดง ขึ้น. ครั้น ถึง แปด วัน, ก็ เปน เมด ฝี, มี น้ำ บุพโพ ใส ๆ. ครั้น ถึง ๑๑ วัน ๑๓ วัน, ก็ ยุบ ลง แห้ง ไป เอง. ไม่ ตอ้ง กิน ยุก ยา แล ปิด ยา เลย. ปลูก คราว หนึ่ง ๑๙ คน ๒๐ คน ก็ จะ มี ตัว รอ้น บ้าง เลก นอ้ย ศัก คน หนึ่ง, ถึง กระนั้น, ก็ ไม่ ตอ้ง กิน ยา ไม่ ตอ้ง อด ของ แสลง. ฝี จะ ออก เท่า แผล ปลูก เท่า นั้น เอง. วิที นี้ แล เปน ที่ กัน ฝีดาษ ได้ มั่นคง นัก. ถ้า จะ ปลูก ต่อ ไป, ก็ ให้ เอา บุพโพ ที่ ปลูก ขึ้น แล้ว แต่ ใส ๆ อยู่, เอา มา ปลูก ลง ที่ คน อื่น, ก็ เปน ต่อ ไป, ใช้ ไป ได้ อีก หลาย พัน ชั่ว, ไม่ กลับ กลาย เปน ฝีดาษ ฝีร้าษ เลย. เรียก ว่า พัน ฝีโค อยู่ อย่าง นั้น. ผู้ ใด มา ฃอ ให้ เรา ปลูก, เรา ก็ จะ ปลูก ให้, ไม่ เอา วัถุ สิ่ง ใด เลย.
ตำรา รักษา แผล ต่อ ไป. Treatment of Ulcers Continued.
ถ้า เหน แผล นั้น มี หนอง ฃาว เหลือง ปน กัน อยู่, แต่ หนอง นั้น ไหล ไม่ เหนียว ติด อยู่ ที่ แผล, เนื้อ แผล นั้น งอก แดง ขึ้น เปน เมด มะระ, ก็ พึ่ง เข้า ใจ เถิด ว่า, แผล นั้น คอ่ย ยัง ชั่ว เข้า แล้ว. เมื่อ เมด นั้น งอก ขึ้น เสมอ กับ เนื้อ ที่ ดี, ริม เนื้อ ที่ ดี นั้น ก็ เปน ผิว หนัง ขาว ๆ ขึ้น ออ่น ๆ กอ่น, แล้ว กลับ หนา ขึ้น กว้าง ออก ไป ทุก วัน จน เตม ทั้ง แผล. แผล เช่น นี้ ตอ้ง ชำระ ดว้ย น้ำ ฃ่าบู่ วัน ละ สอง หน, แล้ว จึ่ง เอา น้ำ ฌะ ที่ ๑ ที่ ๒ ก็ ได้, ใน จด หมาย เหตุ ใบ ที่ สอง ทำ ฌะ ไป เถิด. แล้ว เอา ขี้ผึ้ง แฃง ส่วน ๑ , น้ำมัน มะพร้าว ๒ ส่วน หุง ละลาย ให้ เข้า กัน, แล้ว เอา ขี้ผึ้ง นั้น ทา กระดาด หนัง ก็ ได้, ทา ผ้า ขาว บาง ก็ ได้, ปิด แผล เข้า. ถ้า ไม่ ชอบ ก็ เอา ขี้ผึ้ง ที่ หนึ่ง ใน จด หมาย เหตุ ใบ ที่ หนึ่ง นั้น ทำ ปิด ไป เถิด, แล้ว ฉีก ผ้า ออก พัน ทับ กระดาด ที่ ปิด แผล นั้น ผูก รัด ไว้ ให้ ตึง, อย่า ให้ เนื้อ แยก ดิ้น ได้, จึ่ง จะ หาย โดย เรว.
อนึ่ง ถ้า เนื้อ แดง นั้น เปน เมด มะระ สูง กว่า เนื้อ ที่ ปรกติ ดี แล้ว, แผล นั้น จะ ไม่ หาย เว้น แต่ ให้ เนื้อ แดง นั้น ราบ เสมอ เนื้อ ที่ ดี เสีย กอ่น จึ่ง จะ หาย. ถ้า แผล เลก ๆ เปน ดั่ง ว่า มา นี้, ก็ ให้ เอา จุลษรี กอ้น ที่ มี สันถาน ราบ อยู่ หน้า หนึ่ง เหมือน หน้า หิน นั้น, เอา มา จุ่ม น้ำ ลง ภอ เปียก, แล้ว เอา ถูถู ลง เบาๆ ที่ เมด แผล ที่ งอก ขึ้น สูง กว่า เนื้อ ดี นั้น ศัก ประเดี๋ยว หนึ่ง, แล้ว เอา น้ำท่า ล้าง แผล นั้น เสีย, ให้ ทำ ดั่ง นี้ วัน ละ สอง เวลา, แล้ว เอา ขี้ผึ้ง เช่น ว่า มา แล้ว นั้น ปิด ไป เถิด, แล้ว เปิด ออก เอา จุลษรี ถู ลง ทุก วัน จน เหน เนื้อ แดง ราบ ลง เสมอ เนื้อ ที่ ดี แล้ว จึ่ง จะ หาย. ถ้า แผล ที่ ใหญ่ กว้าง เปน เมด ดั่ง ว่า มา นั้น เล่า, ก็ ให้ เอา สำลี ประชี ออก. แต่ บาง ๆ วาง ปิด ลง ไว้ ที่ กลาง แผล, อย่า ให้ สำลี ชิด ปิด เนื้อ ดี เสีย, เอา ปิด ลง จำเพาะ ที่ ตรง กลาง, แล้ว จึ่ง เอา ขี้ผึ้ง ทา กระดาด ให้ เปน วง ตาม ช่อง แผล ที่ เว้น สำลี ไว้ นั้น, แล้ว เอา ผ้า พัน ไว้ ให้ แน่น, จึ่ง จะ เกิด ผิว หนัง ขึ้น ยืด ออก ไป ปิด แผล ที่ ท่า กลาง นั้น. ตอ้ง ฌะ ดว้ย น้ำ ท่า เสีย กอ่น วัน ละ สอง หน ตาม ขอบ แผล, แล้ว จึ่ง ฌะ ดว้ย น้ำ ยา ที่ ฝาด ๆ ใน ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ว่า ไว้ แล้ว นั้น. ถ้า รักษา ดั่ง นี้ ไม่ ชอบ, ก็ ให้ เอา ขี้ผึ้ง เหนีอว ที่ สอง ใน จด หมาย เหตุ ใบ ที่ ๑ นั้น ทา ผ้า ให้ บาง ๆ, ปิด เหนี่ยว แผล ให้ ตึง, แล้ว จึ่ง ฉีก ผ้า ออก เอา พัน ทับ ลง ที่ ตรง แผล นั้น, อย่า ให้ เนื้อ แยก ออก จาก กัน ได้, อย่า ให้ สูง ขึ้น ได้. รักษา ดั่ง นี้ หาย มา โดย มาก แล้ว. ถ้า ไม่ หาย, ก็ เอา ขี้ผึ้ง แขง กับ น้ำมัน มะพร้าว ที่ ว่า ไว้ นั้น, ทา สำลี เข้า แต่ บาง ๆ ปิด ลง ที่ แผล, แล้ว เอา ตะกั่ว ท่ำชา มา แต่ จีน นั้น, ตัด ออก ปิด ทับ สำลี ลง ไว้, แล้ว เอา ผ้า พัน เข้า ให้ ตึง, ก็ หาย โดย มาก แล. เมื่อ กำลัง รักษา แผล อยู่ ดั่ง นี้. ก็ ตอ้ง อด ของ แสลง ตาม ที่ ห้าม ไว้ ใน จด หมาย เหตุ ใบ ที่ สอง นั้น. แต่ ซ่ม ทั้ง ปวง นั้น มิ ได้ ห้าม สาระพัด จะ กิน ได้, ดว้ย ซ่ม นั้น เปน ที่ บำรุง โลหิต ให้ เอย๊น เปน ปรกติ อยู่. ที่ คน ทั้ง หลาย ถือ ว่า ซ่ม นั้น ให้ บังเกิด หนอง หนัก นั้น. แต่ ข้าพเจ้า ไม่ เหน ดว้ย เพราะ ได้ รักษา บาด แผล ทั้ง เมือง นอก เมือง นี้ มา นาน แล้ว, พิจรณา ดู ซ่ม นั้น เหน ไม่ แสลง กับ บาด แผล ทั้ง ปวง นั้น เลย, ที่ กลัว ว่า ซ่ม จะ เปน แสลง นั้น, ก็ กลัว เปล่า ๆ.
ราคา สินค้า เมือง ใหม่, คิด เหรียน หนึ่ง เปน เงิน ไท หก สลึง เพื้อง สอง หุน
Price Current | บาด | เฟื้อง | บาด | เฟื้อง | |
---|---|---|---|---|---|
แผ่น ทอง แดง แล ตะบู่ ทอง แดง | หาบ ละ | ๕๐ | ๒ | ๕๓ | ๓ |
ผ้า ใบ | พับ ละ | ๑๓ | ๕ | ๑๕ | |
ขี้ผึ้ง | หาบ ละ | ๕๐ | ๒ | ๕๓ | ๓ |
กำญาน อย่าง กลาง | หาบ ละ | ๕๘ | ๕ | ๖๑ | ๗ |
หมาก แห้ง | หาบ ละ | ๓ | ๕ | ๔ | ๑ |
เข้า แฟ มา แต่ ยะกะตรา | หาบ ละ | ๙ | ๒ | ||
ฝ้าย ดี ห่อ หนัก สอง หาบ ยี่ สิบ สี่ ชั่ง | ห่อ ละ | ๒๕ | ๑ | ๒๖ | ๖ |
ฝ้้าย อื้น มา แต่ บำเบ | ห่อ ละ | ๑๓ | ๓ | ๒๖ | ๖ |
งา ช้าง ใหญ่ | หาบ ละ | ๑๖๗ | ๔ | ๑๘๓ | ๗ |
งา ช้าง เลก | หาบ ละ | ๑๐๐ | ๔ | ๑๓๓ | ๖ |
หนัง ควาย ดี | หาบ ละ | ๖ | ๕ | ๗ | |
คราม ไท | หาบ ละ | ๕ | ๐ | ๖ | ๕ |
น้ำมัน มะพร้าว ไท | หาบ ละ | ๑๐ | |||
พริก ไท | หาบ ละ | ๖ | ๕ | ๗ | ๐ |
พริก ลอ่น | หาบ ละ | ๑๔ | ๑ | ||
พริก เทด | หาบ ละ | ๖ | ๕ | ||
เข้้าสาร ดี เกียน หนึ่ง หนัก ๔๐ หาบ | เกี่ยน ละ | ๙๗ | ๑ | ||
น้ำตาน ซาย เมือง ไท | หาบ ละ | ๘ | ๓ | ๙ | ๑ |
เกลือ เมือง ไท | เกี่ยน ละ | ๓๖ | ๖ | ||
ฝาง เมือง ไท | หาบ ละ | ๓ | |||
ครั่ง เมือง ไท | หาบ ละ | ๘ | ๓ | ๑๑ | ๕ |
ตะกั่ว เกรียบ | หาบ ละ | ๒๕ | ๑ | ๒๗ | ๔ |
รง | หาบ ละ | ๑๑๗ | ๑ | ||
ด้าย ดิบ | หาบ ละ | ๓๐ | ๕ | ๕๕ | ๒ |
หนังสือ ฃ่าว นี้ ตีภิม หน้า วัด เจ้าคุณ พระคลัง, ที่ บ้าน พวก ครู อเมริกา อาไศรย. ตี เดือน ละ แผ่น, คือ ปี หนึ่ง สิบ สอง แผ่น. ราคา, ถ้า ซื้อ เปน ปี, ก็ เปน บาท หนึ่ง ถ้า ซื้อ เปน แผ่น, ก็ เปน แผ่น ละ เฟื้อง.
The Recorder is published on the first Thursday of every month at the press of the mission of the A. B. C. F. M. in Siam. Price, one tical, or sixty cents, a year.