Bangkok Recorder - February, 1845
Chemistry. No. 3.
เดือน ก่อน นี้ เรา ได้ ว่า ด้วย อกซุเชน ว่า อกซุเชน นั้น เปน จะ ยัง ไฟ ให้ ติด, คือ ถ้า ไม่ มี อกซุเชน ใน ลม นั้น ไฟ ก็ ไม่ ติด เลย. อีก ประการ หนึ่ง, อกซุเชน นั้น เปน ที่ จะ เลี้ยง ชีวิตร สัตว, คือ ถ้า ใม่ มี อกซุเชน อยู่ ใน ลม หาย ใจ เขัา ออก แล้ว สัตว ทั้ง ปวง ก็ จะ ตาย เรว. ที นี้ จะ ว่า ด้วย นิตโรเชน. นิตโรเชน นั้น เปน ลม อย่าง หนึ่ง, แต่ ไม่ ได้ อยู่ เปน สิ่ง เดียว, ถ้า จะ เอา ลม อากาษ แบ่ง เปน ๔ ส่วน ก็ เปน นิตโรเชน ศัก ๔ ส่วน เปน อกซุเชน ศัก ส่วน ๑. ถ้า ปราถนา จะ กระทํา ให้ นิตโรเชน นั้น ปรากฏ เปน แต่ สิ่ง เดิยว ก็ ให้ กระทํา ตั้ง นี้, คือ เอา ผง เหลก ส่วน หนึง, ผง กํามะถัน ส่วน หนึ่ง, มาก นัอย ไม้ ว่า, ปน กัน เข้า, แล้ว เอา น้ำ ใส่ ภอ ให้ เปิ่ยก, แล้ว ใส่ ไว้ ใน ขวด ที่, เตม ด้วย ลม อากาษ บีด ปาก ขวด ให้ มิด สนิคดี, อกซุเชน ทิ่ อยู่ ปน กับ นิตโรเชน ที่ อยู่ ใน ลม องกาษ, อกซุเชน นั้น ก็ จะ ละ เสีย ซึ่ง นิตโรเชน, แล้ว จะ เข้า ติด กับ เหลก กํามะถัน นั้น, แล้ว นิตโรเชน ก็ จะ ปรากฏู อยู่ แต่ สิ่ง เดียว. นิตโรเชน นั้น ก็ เปน สว่าง เหมือน. ลม อากาษ, แส ไม่ มี รศ ไม่ มี กลิ่น เลย. อนึ่ง มัน เปน เบา กว่า ลม อากาษ ศัก หนิด หนึ่ง. บาง คน จะ ถาม ว่า, เออ เมื่อ เหน ด้วย ตา ไม้ ได้ แล ไม่ มี รศ ที่ จะ ชิม ดู ได้, แล ไม่ มี กลิ่น ที่ จะ ดม ได้, ถ้า จับ ต้อง ไม่ ได้ แล้ว, ก็ จะ ทํา อย่าง ไร ให้ ปรากฎ ได้. ก็ จะ รู ดั่ง นี้, คือ เอา เทียน จุค ไฟ แล้ว ใส่ ใน ขวด นิตโรเชน ให้ เทียน นั้น จม ใน นิตโรเชน ภอ มิด แล้ว, เทียน ก็ จะ ดับ เสีย ใน พริบ ตา เดี่ยว. ประการ หนึ่ง, ถ้า จะ เอา สัตว เลก ๆ มี นก หนู เปน ต้น ใส่ ลง ใน ขวด นั้น, แล้ว สัตว เหล่า นั้น ก็ จะ ตาย เรว. แล เทียน มัน ดับ ไป นั้น ก็ เพราะ ไม่ มี อกซุเชน, แล สัตว เหล่า นั้น ตาย ก็ เพงระ ไม่ มี อกซุเชน เหมือน กัน. ประการ หนึ่ง, ถ้า บุทคล จะ เอา ปวก ขวด นั้น ใส่ เข้า ใน ปาก, แล้ว เอา มือ บีบ จะมูก ให้ แน่น อย่า ให้ ลม อากาษ เข้า ใน จะมูก ได้, แล้ว ก็ หายใจ เข้า ออก ด้วย ปาก ให้ ลม ที่ อยู่ ขวด เข้า ออก ใน กาย ด้วย หายใจ ด้วย ปาก นั้น, ไม่ ช้า ไม่ นาน คน ที่ ทํา เช่น นั้น ก็ จะ ตาย เรว. แต่ จะ ว่า นิตโรเชน นั้น ว่า มี พิศม์ ก็ ว่า ไม่ ได้. เพราะ นิตโรเชน นั้น ไม่ มี อกซุเชน ปน อยู่ ด้วย, คน นั้น จึ่ง ตาย เรว. เหมือน กับ พวก ทหาร อังกฤษ ประมาณ ๑๒๓ คน, เมื่อ แพ้ แก่ สงคราม พวก แฃก จับ ได้ เอา ไป ใส่ ไว้ ใน คุก ๑๔๖ คน, คุก นั้น กว้าง ยาว สิบ ศอก แล มี ช่อง เลก ๆ ช่อง เดียว สําหรับ ให้ ลม แล สว่าง เข้า ไป ปรากฏ. เมื่อ เขา อยู่ ใน ห้อง น่อย หนึ่ง ก็ ไม่ สบาย หายใจ, ยาก นัก. ที หลัง เกิด เปน ได้ ร้อน นัก, เขา ก็ ร้อง ขอ ลม ขอ นํ้า, แล้ว ก็ ด่า พวก แขก ที่ เฝ้า คุก ด้วย ปราถนา จะ ให้ พวก แฃก เข้า มา ฆ่า ตน เสีย. เมื่อ เขา พา กัน เข้า อยู่ ใน คุก นั้น เพลา กลาง คืน ศัก สอง ทุ่ม, ครั้น สว่าง แล้ว พวก แฃก เข้า ไป ดู ก็ เหน ว่า ตาย แล้ว ๑๒๓ คน, ยัง ไม่ ตาย ๒๓ คน. ตาย มาก ดั่ง นั้น ก็ เพราะ อกซุเชน ที่ อยู่ ใน ลม หายใจ นั้น สิ้น เรว เหลือ อยู่ แต่ นิต โรเชน ที นี้ จะ ว่า ด้วย สิ่ง ทำ ด้วย อกซุเชน แล นิตโรเชน สอง สิ่ง นั้น. ประการ หนึ่ง, ถ้า นิตโรเชน ๔ ล่วน อกซุเชน ส่วน หนึ่ง ปน กัน เข้า ก็ จะ เปน ลม อากาษ ดั่ง ว่า มา แล้ว แต่ หลัง นั้น. ลม อากาษ นั้น ถ้า มี อกซุเชน มาก กว่า กําหนด แล้ว, ก็ จะ ให้ สัตว มี ตัว ร้อน แล หายใจ หอย ไป. ถ้า มี น้อย กว่า กําหนด แล้ว, ก็ จะ กระทำ ให้ สัตว หิว โหย ไม่ มี แรง เลย. ประการ หนึ่ง, ยัง มี อีก ๔ สิ่ง ที่ ทํา ค้วย นิตโรเชน แล อกซุเชน นั้น, คือ ลม อย่าง หนึ่ง เรียก ว่า นิตรัษ อูกซิด. Nitrous Oxide คือ ลม อย่าง หนึ่ง เรืยก ว่า นิตริกอก ซิด. Nitric Oxide. คือ น้ำ กรด อย่าง หนึ่ง ชื่อ ว่า นิตรัษ อาซิด. Nitrous Acid. คือ น้ำ กรด อย่าง หนึ่ง ชื่อ ว่า นิตริกอาซิด. Ni- tric Acid. อนึ่ง ลม ซื่อ ว่า นิครัษอาชิด นั้น มี นิตโรเซน ๔ ส่วน อกซุเชน ๒ ส่วน. ถ้า บุทคล จะ หายใจ ด้วย ลม อย่าง ว่า มา นี้ หาย ใจ เฃ้า ออก ศัก ๘ ทนาน ๑๐ ทนาน, ก็ จะ เมา ไป เหมือน กับ คน เมา เล่า, ให้ สติฟั่น เพื่อน ไป. ฝ่าย ลม ที่ เรียก ว่า นิตริกอกซิด นั้น มี นิตโรเชน ๔ ส่วน อกซุเชน ๔ ส่วน เท่า กัน เหมือน กัน, ถ้า ผู้ใด จะ หายใจ ด้วย ลม อย่าง นี้ ศัก หนิด หนึ่ง, มัน ก็ จะ ให้ ไอ นัก แล อัด ใจ หายใจ ไม่ ใค่ร ออก. ถ้า จะ เอา เทียน จุด ไฟ ใส่ ใน ลม นั้น มัน ก็ จะ ดับ เสีย เรว. ประการ หนึ่ง, น้ำ กรด ที่ เวียก ว่า นิตรัษอาซิด นั้น มี นิตโงเชน ถ สวน อกซุเชน ๘ ล่วน. น้ำ กรด นี้ เขา ใช้ เปน ยา มาก, เปน ศี เขียว. ประการ หนึ่ง, น้ำ กรด ที่ ชือ ว่า นิตวิกอา ซิด นั้น มี นิดโรเชน ๔ ส่วน, อกซุเชน ๑๐ ส่วน. น้ำ กรด อย่าง นี้ เปน ศี แดง เปน หนัก กว่า น้ำ ฝน น่อย หนึ่ง, เขา ใช้ ต้าง ๆ, คือ ใช้ ย้อม ผ้า บัาง, คือ ใช้ สลัก ทอง แดง, แล ใช้ เปบ ยา บ้าง. ของ ห้า สิ่ง เหล่า นี้ มี ลม อากาษ เปน ตัน, ทํา ด้วย นิตโรเชน แล อกซุเชน, ไม่ มี สิ่ง อื่น ปน เลย.
ตํารา ลม อากาษ. Causes of Wind.
ที นี้ จะ ว่า ด้วย ลม พัด มา ด้วย เหตุ อัน ได.
อัน ว่า ตํารา ลม อากาษ ที่ เรา ได้ ตีภิม แต่ ก่อน, ก็ ว่า ลม เอย๊น นั้น หนัก กว่า ลม ร้อน. ใน ข้อ นี้ เรา จะ อริบาย ต่อ ไป อีก. ประการ หนึ่ง, ถ้า เรา จะ เอา น้ำ มัน ใส่ ลง ใน ถัง ตัก น้ำ, แล้ว เท น้ำ ลง ใน ถัง, น้ำ มัน ก็ จะ ลอย ขึ้น ไป อยู่ บน หลัง น้ำ, หา อยู่ ข้าง ล่าง ไม่. เหตุ ใด, เหตุ ว่า น้ำ มัน นัน มัน เบา กว่า น้ำ, มัน จึ่ง ลอย ขื่น ไป อยู่ ข้าง บน. ฝ่าย ลม อากาษ นั้น เมื่อ ลม ที่ อยู่ ใน เบื้ยง ต่ำ แห่ง หนึ่ง แห่ง ใด จะ ร้อน กว่า ลม ที่ อยู่ ใน เบื้อง บน, ลม ที่ ร้อน นั้น มัน เบา กว่า ลม เอย๊น มัน จึ่ง ลอย ขึ่น ไป อยู่ ข้าง บน, แล ลม เอย๊น นั้น จึ่ง ไหล เข้า มา สุ่ ที่ ๆ ลม ร้อน อยู่ แต่ ก่อน นั้น. ถ้า ผู้ ใด จะ สง ไส ใน ความ ที่ ว่า มา นื้, จะ ลอง ดู ก็ ลอง ดุ ง่าย ได้. ให้ เอา อ่าง ก็ ได้ โตก ก็ ได้, ใส่ น้ำ ร้อน ให้ เตม, แล้ว เอา เทียน ที่ คับ ไหม่ ยัง มี ควัน อยู่, วาง แอบ เข้า ไป ให้ ใก้ล อ่าง แล โตก ที่ เตม ด้วย น้ำ อัน รัอน นั้น, แล ควัน เทียน นั้น ก็ จะ ไถล ขึ้น ไป, ด้วย เหตุ ว่า ลม ร้อน มัน เบา กว่า ลม เอย๊น. ลม เอย๊น นั้น มัน พัด เข้า ไป, ครัน ร้อน แล้ว มัน ก็ ลอย ขึ้น ไป. แล เทียน นั้น จะ วาง ไว้ ข้าง ต่าง ๆ แห่ง อ่าง แล โตก นั้น ควัน มัน ก็ จะ ไถล ขึ้น ไป เหมือน กัน ทุก แห่ง. อนึ่ง เหมือน กับ ไฟ ไหม้ บ้าน แล ลม ไม่ มี เลย, ครั้น แล ไฟ ติด มาก ขึ้น แล้ว ก็ บังเกิด มี ลม พัด มา, เพราะ เหตุ ว่ว ไฟ นั้น กระทํา ให้ ลม ที่ เอย๊น นั้น ร้อน ลอย ขึ้น ไป ใน เบื้อง บน, ลม ที่ เอย๊น ก็ ไหล เข้า ไป สู่ คลอง ลม ที่ ขึ้น ไป นั้น. ครั้น เข้า ไป ถูก ไฟ นั้น ก็ รัอน ก็ ขึ้น ไป สู่ เบื้อง บน อีก, แล เมื่อ ไฟ นั้น ดับ ลม นั้น ก็ อยุด ด้วย. นี่ แล เปน เหตุ บังเกิด ลม พัด ทุก อย่าง. ถ้า ลม ข้าง ทิศ ใต้ นั้น จะ รัอน กว่า ลม ข้าง ทิศ เหนือ, แล้ว ลม ข้าง ทิศ ใต้ นั้น จะ ลอย ขึ้น ไป บน อากาษ แล ลม ที่ ทิศ เหนือ จะ พัด ไป ข้าง ทิศ ใต้, เข้า สู่ คลอง ลม ที่ ร้อน นั้น, ลม กับ เรา ท่าน ได้ เหน แล้ว เมื่อ ระดู หนาว. ระดู หนาว นั้น พระอาทิตย์ เยื้อง ไป ข้าง ทิศ ไต้ กระทำ ให้ ลม ข้าง ทิศ ใต้ ร้อน กว่า ลม ข้าง ทิศ เหนือ. ลม ข้าง ใต้ นั้น จึ่ง ลอย ขื้น ไป, ลม ข้าง ทิศ เหนือ นั้น จึ่ง พัด มา ขัาง ใต้. เปน ดัง นี้ ศัก ลี่ ห้า เดือน, แล เมื่อ พระอาทิตย์ เยื้อง ไป ข้าง เหนือ, ลม ข้าง เหนือ นั้น ก็ ร้อน ลม ข้าง ทิศ ไต้ ก็ เอย๊น, ลม ข้าง ไต้ นั้น จึ่ง พัด มา ข้าง เหนือ. ลม สอง อย่าง นี้ ใน ภาษา อังกฤษ เวียก ว่า มันซูน. Monsoon. อีก ประการ หนึ่ง เมือง ที่ อยู่ ท์ย ชเล นั้น มัก บังเกิด ลม พัด มา แต่ ชเล ใน กลางวัน, ใน กลาง คืน นั้น พัด มา แต่ บก ไป สู่ ชเล. เหตุ ใด, เหตุ ว่า เวลา กลาง วัน ลม ที่ บก นั้น ร้อน กว่า ลม ที่ ชเล, สม ที่ บก นั้น จึ่ง ลอย ขื้น ไป, ลม จึ่ง พัด มา แต่ ชเล. แต่ ใน กลาง คืน นั้น ลม ที่ ช เล นั้น มัน ร้อน กว่า ลม ที่ บน บก จึ่ง ลอย ขึ้น ไป, ลม จึ่ง พัด มา แต่ บก ไป สู่ ชเล. ลม ที่ พัด มา แต่ บก ใน กลาง คืน นั้น เรียก ว่า ลม บก, Land breeze. ลม ที่ พัด มา แต่ ซเล ใน กลาง วัน นั้น เรียก ว่า ลม ชเล, Sea breeze.
Antiquities of Ceylon.
จะ ว่า ด้วย ของ บูราณ ใน เมือง ลังกา. ว่า เมื่อ สอง ปี ล่วง ไป แล้ว, มี คน พวก หนึ่ง อยู่ ใน เมือง มะนาระ ใน เกาะ ลังกา ได้ ขุด ซึ่ง ราก ตึก เก่า. ตึก นั้น เปน เก่า นัก แล เวลา ที่ สร้าง ตึก นั้น ไม่ มี ผู้ ใด รู้ เลย. เมื่อ เชา ขุด ฤก ลง ไป เฃา ได้ กบ อิด อย่าง หนึ่ง มี กัน ถาน กลม แล แบน เหมือน กับ ลูก ล้อ. สัน ถาน อิด นั้น ก็ เหมือน กับ อิด ที่ เฃา ใช้ ใน เมือง โรม นาน แล้ว ประมาณ ศัก สอง พัน ปี. เมื่อ เฃา ร่อน ผง คลี ที่ ราก ตึก นั้น, เฃา ได้ ภบ แหวน ทอง คำ วง หนึ่ง, เปน เหมือน กับ แหวน ที่ ขุน นาง ใส่ พวก หนึ่ง เมื่อ ครั้ง เมือง โรม. ใน แหวน นั้น มu หนังสือ จาฤก ดั่ง นี้ คือ อัน. ปลก. Ann. Ploc. นี่ แล สม กับ ความ ใน หนังสือ บูราณ เล่ม หนึ่ง, ที่ คน ชื่อ ปลีนี เปน ท์ว โรม ได้ เขียน ไว้ นาน แล้ว กว่า พัน แปด ร้อย ปี, เปน หนังสือ พง สาวะดาน. ใน หนังสือ นั้น ว่า ก่อน ปลีนี เกิด ประมาณ ศัก ร้อย ปี, มี ขุน นาง คน หนึ่ง ซื่อ อันเนียษ โปลกาเนียษ, เปน นาย เกบ ภาษี ใน ชเล แดง นั้น, ลง เรือ จะ ไป ด้วย กิจ ทุระ สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง, ก็ บัง เกิด ลม พยุหัพัด มา แต่ ข้าง ทิศ ตวัน ตก ให้ เรือ นั้น ซัด ไป เกาะ ลัง กา กลับ มา ไม่ ได้. เรา ก็ เข้าใจ ว่า แหวน แล อิด นั้น เปน ๆ ฃอง ของ คน ชื่อ อันเนียษ โปลกาเนียษ, ซื่อ สลัก เปน ย่อ ไว้.
Summary of News.
มี หนังสือ ฝาก มา แต่ เมือง พม่า มา ถึง พวก ครู อเมรกา ที่ อยู่ ใน กรุงเทพมหานคร นี้. เรื่อง ข่าว นั้น เปน ใจ ความ ว่า, กำปัน อังกฤษ ลำ หนึ่ง แตก ที่ หมู่ เกาะ อันดะมัน. Andaman. เกาะ อันดะมัน นั้น, อยู่ ที่ ข้าง ทิศตวัน ตก แห่ง เมือง มฤท หน ทาง ไกล ประมาณ ๔๐ โยชณ์, มี เรือ ล่อง บท ลำ หนึ่ง มา ถึง เมือง มฤทเอา ข่าว นั้น มา บอก แก่ ท์ว เมือง ว่า, มี คน ที่ กำปั่น แตก นั้น ประมาณ ๗๐๐ คน, อาไศร อยู่ ที่ เกาะ อันดะมัน นั้น, อด หยาก อาหาร นัก, แทบ ถึง ตาย. ท์ว เมื่อง มฤท เอา ของ บัน ทุก กำปั่น ไฟ ไป ให้ กิน ได้ รักษา พยจบาล ด้วย.
มี ข่าว มา แต่ เมื่อง จีน ว่า, มี คน ผู้ หนึ่ง ชือ ว่า งอกง คิด กระบถ เกลี้ย กล่อม พวก จีน มาก. ทหาร ผู้ ใหญ่ จัด แจง ทับ หลวง จะ ยก ไป ปราบ ปราม พวก กระบก, แล ข่าว เหน ว่า จะ ปราบ ปราม ได้ โดย สควก.
หนึ่ง มี หนังสือ ข่าว มา แต่ เมือง จีน ใน ปี มะโรง ฉ้อ ศก ว่า, น้ำ ท่วม เมือง จีน มาก นัก หลาย ตำบน คน ก็ ตาย, มาก, ทั้ง เข้า ของ ก็ เสีย มาก ด้วย. ใน ข่าว ว่า เข้า สาร แพง, หาย ละ ๓ เหรียน.
The Wolf and the Lamb.
ใน กาล วัน หนึ่ง, เปน วัน อัน ร้อน เหลือ กำลัง นัก, มี หมา ใน ตัว หนึ่ง กับ ลูก แกะ ตัว หนึ่ง มา ถึง ลำธาร, มี น้ำ อัน ไส ดัง แสง เงิน, ด้วย หยาก น้ำ, ทั้ง สอง สัตว ปราถนา จะ กิน น้ำ ใน ลำธาร ที่ ไหล ลง มา จาก ภู เขา. ฝ่าย หมา ใน นั้น ยืน อยู่ ที่ สูง ข้าง เหนือ น้ำ, แต่ ลูก แกะ นั้น ยืน อยู่ ที่ ต่ำ ขัาง ใต้ น้ำ, ๆ ก็ ไหล ลง มา จาก ที่ หมา ใน ยืน นั้น มา สุ่ ที่ ลูก แกะ ยืน อยู่. แต่ ว่า หมา ใน นั้น ปราถนา จะ ก่อ เหตุ วิวาท กับ ลูก แกะ, จึ่ง ร้อง ถาม ไป ว่า ทำไม เอง จึ่ง มา หำ ให้ น้ำ ขุ่น โสก โครก ไป ดัง นี้ เล่า, จน เรา มิ เปน อัน ที่ จะ กิน ไต้, แล้ว คุก คาม คำ ราม รน ด้วย เสียง อัน พิฤก. ส่วน ลูก แกะ นั้น ตกใจ กลัว ตัว สั่น, จึ่ง ตอบ ด้วย คำ อัน อ่อน หวาน ว่า, ฉัน ไม่ รู้ ที่ เลย. น้ำ อัน ฉัน กิน นั้น ก็ ไหล ลง มา จาก ท่าน, ฉัน อยู่ ใต้ น้ำ จะ ทํา น้ำ ข้าง เหนือ ให้ ขุ่น อย่าง ไร ได้, ไม่ ทราบ แล้ว. ฝ่าย หมา ใน จึ่ง ว่า, ถึง อย่าง นั้น ก็ ดี, เอง ก็ ยัง เปน คน ชั่ว. เรา ได้ ยิน ว่า แต่ ก่อน นาน ประมาณ สัก ครึ่ง ปี แล้ว เอง ก็ นิน ทา ว่า กล่าว เรา ลับ หลัง เปน อัน มาก. ส่วน ลูก แกะ ก็ ตอบ ว่า, คราว ก่อน ที่ ท่าน ว่า นั้น ฉัน ยัง หา ได้ เกิด ไม่. หมา ใน เหน ว่า ถ้อย ทิ่ ถ้อย ว่า กัน ไม่ ได้ การ, ก็ กริ้ว โกรธ ขัด ใจ เปน บัา มี น้ำ ลาย ฟู่ม ฟอง ออก จาก ปาก, ยิง ฟัน กระโจน โผน โลด เข้า ไป ใก้ล ลูก แกะ, แล้ว ว่า ถ้า มิ ใช่ มึง, พ่อ มึง ก็ เหมือน กัน, ก็ จับ ฉีก เนื้อ กัด กิน จน ลิ้น.
On Intermittent Fever.
ใน หนังสือ จด หมาย เหตุ ที่ เจด นั้น ว่า ด้วย อาการ ใข้ จับ สั่น, ให้ หนาว นั้น แล้ว. ที่ นี้ จะ ว่า ด้วย อาการ ให้ ร้อน. คน ใข้ จับ สั่น บ่าง จำพวก ร้อน ภอ ประมาร ไม่ สู่ ร้อน นัก, ก็ ไม่ ต้อง การ ที่ รักษา มาก, ควร จะ รักษา บ้าง เลก น้อย. เมื่อ ขณะ คน ไข้ มี ผิว หนัง แห้ง โสก ควร จะ ให้ ภิน น้ำ เอย๊น ให้ มาก ภอ เตม อิ่ม. อาการ ที่ ร้อน แล หอบ นั้น ก็ จะ ค่อย ทุเลา ลง. อนึ่ง ให้ เอา ผล มนาว ที่ สุก, บิบ เอา แต่ น้ำ ผล หนึ่ง, แล้ว เอา น้ำ ตาล ทราย ศัก สอง ช้อน, ใส่ รคน เข้ว กับ นำ มนาว, ให้ เข้า กัน ดี แล้ว, จึ่ง เอา น้ำ เอย๊น ประมาร ศัก ถ้วย แก้ว ขนาด กลาง ใส่ ลง, แล้ว ให้ คน ไข้ กิน เข้า ไป, ก็ จะ มี คุน แก่ คน ไข้ นั้น เปน อัน มาก.
ขนาน หนึ่ง, ให้ เอา ยา ชื่อ ว่า คาโบเนตอำโมเนีย, ที่ ไท ลมุติ เรียก ว่า เยี่ยว อูฐ นั้น นัก สลึง หนึ่ง, ใส่ ถ้วย แก้ว สง, แล้ว จึ่ง เอา น้ำ สัม สาซู ที่ ใสร ดี, ริน ใส่ ลง ใน ยา นั้น ที่ ละ น้อย ๆ, น้ำ สัม นั้น ก็ เปน ฟอง ฟู ฃึ้น เปน เม๊ด ๆ, เมื่อ เม็ด หาย แล้ว ริน ลง ที ละ น้อย ศัก สาม ครั้ง ลี่ ครั้ง, เมื่อ ไม่ มี เม๊ด แล้ว ให้ อยุด เสีย. เมื่อ น้ำ สัม เปน ดั่ง นี้ เรียก ว่า, อาซิเทดอำโมเนีย, จึ่ง เอา น้ำ ยา ดั่ง กล่าว มา นี้ ให้ กิน ถึง กำหนฏ สอง โมง กิน ช้อน หนึ่ง. ยา นี้ มี คุณวิเศศ นัก. ถ้า อาการ คน ไข้ ให้ ร้อน นัก, ต้อง กิน ดี เกลือ นัก สอง สลึง กับ ยา ชื่อ ธาเตรดโปตาซา, เปน ผง ศี ข้าว, หนัก หุน หนึ่ง, แบ่ง เปน สี่ ส่วน, เอา แต่ ส่วน หนึ่ง, ใส่ ลง ใน ดี กลือ ละ ลาย น้ำ เอย๊น ให้ กิน เมื่อ แรก ออก ร้อน นั้น, เพื่อ จะ ให้ ราก บัาง ลง บ้าง. ถ้า แล อาการ ร้อน สร่าง เหื่อ เกือบ จะ ออก แล้ว, ก็ ห้าม มิ ให้ กิน ยา ขนาน นี้ เลย. แล ของ อื่น ๆ ทั้ง ปวง ที่ รศ เอย๊น นั้น ก็ ห้าม ด้วย, ถ้า จะ กิน ก็ กิน เมื่อ แรก ร้อน นั้น มี คุณ มาก. อนึ่ง ถ้า แล คน ไฃ้ เมื่อ ร้อน นั้น ให้ ปวด ศีศะ นัก, ก็ ให้ ปล่อย ปลิง ตัว อย่าง กลาง ที่ ขมับ ข้าง ละ ๒๐ ตัว, ไม่ เลือก ว่า วัน ใด ปล่อย ได้ หมด. เมื่อ ปลิง อิ่ม ตก แล้ว, จึ่ง เอา ผ้า ชุบ น้ำ ร้อน อุ่น ๆ, ปีด ไว้ ที่ ปาก แผล ให้ โลหิต ไหล ออก ให้ มาก. แล้ว ก็ หาย ปวด ศีศะ ถั้า แล ปล่อย ปลิง โลหิต นั้น ไหล ออก น้อย, ก็ ให้ กอก ที่ แผล นั้น ให้ โลหิต ไหล ออก ให้ มาก ก็ วิเศศ นัก.
บาง ที คนั ไฃ้ เมื่อ กำลัง ร้อน อยู่ นั้น, ใน กระเภาะ อาหาร ใหม่ ให้ ร้อน, เพราะ โลหิต ไหล. เซ้า ที่ กระเกาะ นั้น มาก นัก, ให้ อาเจียน ราก เหลือง ออก มา ขม ๆ, ถ้า จะ แก้, ก็ ให้ กิน ยา ขนาน หนึ่ง ชิ้อ ว่า ฅา โลเมละ เปน ผง ศีฃาว, นัก หุน หนึ่ง กิน กับ เข้า ต้ม ก็ ได้, กล้วย ก็ ได้, ตาม ชอบ ใจ, ก็ วิเศศ นัก. ให้ กิน วัน ละ หน ศัก สอง วัน, ถ้า ไม่ หาย, ให้ เอา คารบุร หนัก สลึง ๑, ลลาย ใน น้ำ ยา ชื่อ ว่า อิเธอ ประมาณ ชัอน หนึ่ง, แล้ว จึ่ง เอา ยา นั้น ประมาณ ๓๐ อยด ใส่ ลง ใน น้ำ เอย๊น ให้ คน ไข้ กิน ดีวิวิเศศ นัก. อาการ ไข้ จับ ให้ หนาว ให้ ร้อน นั้น, เรา สำแดง แต่ เท่า นี้ ก่อน
ลำดัพ นี้ จะ ว่า ด้วย อาการ ไฃ้ จับ สั่น ให้ เหื่อ ออก นั้น, ไม่ ต้อง กาว รักษา ด้วย ยา ลิ่ง ใด. ควร จะ อด แต่ ฃอง แสลง ที่มีรศ รัอน นัก แล เอย๊น นัก, แล ฃอง ที่ มี มัน มาก นัก, มี หมู เปน ต้น. เมื่อ เหื่อ แห้ง ดี เปน ปรกติ ตัว เอย๊น สำเรา ลง แล้ว, ควร จะ ให้ กิน ยา ตัด ราก ไม่ ให้ กลับ จับ ต่อ ไป. บ่าง คน ให้ กิน ยา ตัด ราก นั้น ตั้ง แต่ วัน ลัม ไข้ ได้ ๓ วัน บ้าง ๗ วัน บ้าง. บาง ที ให้ กิน พ้น ๓ วัน บ้าง, ๗ วัน บัาง, จึ่ง จะ ควร กับ โรค. คน ไข้ ที่ มี กำลัง มาก มี โลหิต บริบูรรณ์ มิ ได้ เปน คน โรค แต่ ก่อน, คน พวก นี้ ควร จะ ให้ รักษา ดั่ง กล้าว มา แล้ว นั้น ศัก ๕ วัน ๗ วัน, ประสงษั จะ ให้ กำลัง แล โลหิต ใน กาย อย่อน น้อย ลง ไป, แล้ว จึ่ง ให้ กิน ยา ตัด ราก จึ่ง จะ ฟัง. ถ้า มิ ได้ กิน ยา ถ่าย ดั่ง กล้าว ว่า มา นั้น มัก ไม่ ฟัง. แต่ คน ที่ มี โลหิต แล กำลัง ถอย น้อย อยู่ ก่อน นั้น, ถึง จะ กิน ยา ตัด ราก แต่ ใน สาม วัน ก็ ได้, ยา ที่ ตัด งาก นัน แพทย์ ใน เมือง อะเมริกา ได้ ใช้ หลาย อย่าง, แต่ ยา ที่ ดี ยิ่ง นั้น คือ ยา ซื่อ ว่า คินิน, เปน ยา ศี ฃาว, มา แต่ เมือง เทษ, ที่ พวก หมอ มา แต่ อะเมริกา ได้ แจก อยู่ แต่ ก่อน นั้น, ด้วย จะ ให้ คน ทั้ง ปวง เหน คุณ ยา นั้น ก่อน. แต่ ทุก วัน นี้ มิ ได้ แจก ด้วย เหตุ ว่า คน ทั้ง ปวง รู้ คุณ ยา นั้น แล้ว. ถ้า ผู้ ได ปราถนา, ก็ ควร จะ มา ซื้อ, ด้วย เหตุ ว่า ยา นั้น. หมอ ซื้อ มา แพง, ถ้า จะ แจก ให้ ทุก คน ก็ ไม่ ภอ แจก. ถ้า หมอ จะ ให้ บ้าง มิ ได้ ให้ บ้าง, คน ทั้ง ปวง ก็ จะ ชวน ติ เตียน นินทา หมอ ว่า, เลือก ที่ รักษ์ มัก มัก ที่ ชัง. เพราะ เหตุ ดั่ง นี้ จึ่ง ฃาย ให้ ทุก คน มิ ได้ เลือก หน้า ว่า ผู้ ดี แล เฃน ใจ. ถ้า จะ กิน ยา คินิน นั้น ก็ ให้ ชั้ง เอา หนัก สอง หุน, เอา ยาง มควิต ลลาย น้ำ ก็ ได้, เอา แบ้ง เบียก เหลว ๆ ก็ ได้, คลุก ระคน เข้า กับ ยา นั้น, ปั่น เปน เม๊ด ๑๒ เม็ด ให้ เท่า กัน. เมื่อ กิน นั้น ให้ กิน ก่อน เพลา จับ ประมาณ หก โมง. แล ให้ กิน มื้อ ละ สอง เม๊ด, อยุด สอง โมง กิน ครั้ง หนึ่ง, ๆ กว่า จะ ถึง เพลา จับ. ถ้า เหน ไม่ จับ แล้ว, ก็ ให้ ถอย ลง กิน ที ละ เม๊ด, ๆ อยุด สอง โมง กิน ครั้ง หนึ่ง ๆ, กิน ดั่ง กล่าว นี้, ศัก สาม เพลา แล้ว ให้ งด เสีย. ถ้า ไฃ้ อยุด จับ แล้ว ก็ ดี, เมื่อ จะ ใก้ล ถึง เพลา จับ นั้น, ก็ ให้ กิน เสีย ก่อน เพลา จับ ศัก สอง เม๊ด, ก็ จะ หาย วิเศศ นัก. ถ้า กิน ยา คินิน เช่น ว่า แล้ว, เมื่อ มี ฟัง, ถ้า ฃืน จับ, ก็ อยุดยา เสีย ก่อน. ครั้น เมื่อ จะ ถึง เพลา จับ, ก็ ให้ กิน ต่อ ไป อีก, เพลา สอง เม๊ด ๆ, สอง โมง กิน ครั้ง หนึ่ง ๆ เหมือน ดั่ง กล้าว มา แล้ว แต่ หลัง นั้น เถิด ก็ คง หาย แล.
อนิ่ง ถ้า เมื่อ เพลา จับ ให้ ท้อง เปน ก้อน แฃง อยู่, ก็ ให้ กิน ยา น้ำ ประสาร ดี บุก หนัก สลึง ๑, วัน ละ ล่าม เพลา คือ เข้จ ครั้ง หนึ่ง เที่ยง ครั้ง หนึ่ง, เอย๊น ครั้ง หนึ่ง, ใน วัน เดียว กัน กับ ยา คินิน นั้น, แต่ ทว่า ต้อง กิน ไป หลาย วัน, กว่า ก้อน ใน ห้อง นั้น จะ ยุบ หาย ดี เหมือน แต่ เดิม. ยา ประสาร ดี บุก แก่ โรฅ นั้น ดี นัก แล.
Quinine for Sale.
ยา คินิน นั้น, แต่ ก่อน เฃา ฃาย อยู่ ที่ ตึก หันแตร, แต่ บัด นี้ เขา ได้ เอา มา ฝาก ไว้ ให้ ฃาย ที่ บ้าน ข้าพเจ้า หมอ บรัดเล, ด้วย ข้าพเจ้า เหน ว่า ใน พระนคร นี้, คน เปน ไข้ จับ มาก นัก, ข้าพเจ้า มี ใจ เมตา จะ สงเคราะห์ คน ทั้ง ปวง จึ่ง รับ เอา ยา นั้น มา, เจ้า ฃอง สัง ให้ ฃาย อย่าง ใร, ข้าพเจ้า ฃาย อย่าง นั้น. เหตุ ดั่ง นี้ จึ่ง ช่วย รับ มา ไว้ ขาย มิ ได้ เอา กำไร เลย. แต่ บัด นี้ ยา นั้น ยัง มี อยู่ ที่ บ้าน ข้าพเจ้า หมอ บรัดเล ศัก ๔๐ ฃวด. ถ้า ผู้ใด จะ ซื้อ เอา หมด ทั้ง ๔๐ ฃวด จะ เอา ราคา ฃวด ละ สาม ตำลึง สอง บาด. ถ้า จะ ต้อง ประสงษ, แต่ ขวด หนึ่ง สอง ขวด แล้ว, จะ เอา ราคา ขวด ละ สี่ ตำลึง สาม สลึง. หฤๅ จะ เอา สลึง หฤๅ สอง สลึง ก็ ได้. แล ยา ขวด หนึ่ง นั้น หนัก สอง บาด, แต่ ทว่า ลาง ขวด ก็ ดู เหมือน มาก, ลาง ขวด ก็ ดู เหมือน น้อย, เหตุ ว่า ยา ที่ เปน ก้อน เม๊ด เลกๆ แน่น อยู่ ก็ เหน เปน น้อย, ที่ เปน ก้อน โตๆ ฟู อยู่ ก็ เหน ว่า มาก, แต่ ที่ จริง น้ำ หนัก สอง บาด เท่า กัน ทั้ง สิ้น. ไม่ มาก ไม่ น้อย กว่า กัน, ยา ดี เหมือน กัน, อย่า ได้ สงไส ไป เลย.